ประวัติ สรพงศ์ ชาตรี ผลงานทรงคุณค่า

คนแห่แสดงความอาลัย เป็นอีกหนึ่งข่าวเศร้าของวงการบันเทิง ที่เสียพระเอกรุ่นใหญ่ สรพงศ์ ชาตรี ตำนานพระเอกตลอดกาลที่จากไปอย่างสงบในวัย 71 ปี แม้ตัวจะจากไปแต่ยังฝากผลงานไว้เป็นตำนานให้คนรุ่นหลัง

สรพงศ์ ชาตรี มีชื่อเล่นว่า เอก ชื่อเดิมคือ พิทยา เทียมเศวต เกิดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วบวชเรียนตั้งแต่ 8 ปี จนลาสิกขาเมื่อ อายุ 11 ปี ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เมื่ออายุได้ 19 ปี สรพงศ์ ชาตรี ได้ พบกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งชักชวนให้มาอาศัยอยู่ที่วังละโว้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ชื่อ สรพงศ์ ชาตรี ที่ใช้ในการแสดง ผู้ตั้งให้คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยคำว่า สร มาจาก อนุสรมงคลการ, พงศ์ มาจาก สุรพงศ์ โปร่งมณี (ผู้พามาฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม) และ ชาตรี มาจาก ชาตรีเฉลิม

เริ่มงานแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นตัวประกอบ และเป็นเด็กยกของในกองถ่ายละคร ห้องสีชมพู ฉายทางช่อง 7 ซึ่งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับ และภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่อง สอยดาว สาวเดือน ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องที่ 2 และ 3 ก็ยังคงเล่นบทตัวประกอบที่ไม่มีบทพูด จนเริ่มมีบทพูดตามลำดับ

กระทั่งในภาพยนตร์เรื่องที่ 4 คือเรื่อง มันมากับความมืด พ.ศ. 2514 ได้บทเป็นพระเอกเต็มตัวครั้งแรก ซึ่งเป็นผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จากนั้น สรพงศ์ ชาตรี กลายเป็นพระเอกโด่งดัง ที่มีผลงานแสดงกว่า 500 เรื่อง ได้รางวัล ตุ๊กตาทอง ครั้งแรก 2 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในต่างประเทศ พ.ศ. 2520 กำกับโดยเชิด ทรงศรี นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุด

สรพงศ์ ชาตรี

สำหรับรางวัลที่เคยได้รับ ยังมีรางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นอกจากรับบทนักแสดงแล้ว สรพงศ์ ชาตรี ยังมีผลงานด้านการ พากย์เสียง ในภาพยนตร์เรื่องดัง Toy Story มาตั้งแต่ปี 1995 โดยพากย์เสียงเป็นการ์ตูนตัว วู้ดดี้

สรพงศ์ ชาตรี เคยดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัย) สาขาศิลปะการแสดงในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย รวมไปถึง ได้รับเลือกเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2551

สรพงศ์ ชาตรี

สรพงศ์ ชาตรี

อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจให้กับครอบครัว สรพงศ์ ชาตรี ด้วยนะคะ